ข้อต่อ (joint) ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวได้สะดวก สามารถเคลื่อนไหวได้หล…

ข้อต่อ (joint) ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวได้สะดวก สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง การเชื่อมต่อกันของกระดูกตรงข้อต่อนั้นมีหลายลักษณะดังนี้

1. ข้อต่อรูปเดือย (pivot joint) เป็นข้อต่อที่มีกระดูกชิ้นหนึ่งหมุนอยู่ในวงของกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง ข้อต่อชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้แบบเดียว คือ บิดหมุนได้ครึ่งรอบ เช่น ข้อต่อของกระดูกคอชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2 (atlantoaxial joint) ข้อต่อ ข้อมือ บริเวณ รอยต่อของปลายแขน (radio-ulnar joint)

2. ข้อต่อรูปบานพับ (hinge joint) เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวทำมุมได้ทางเดียวคล้ายกับบานพับประตู เช่น ข้อต่อที่ข้อศอก (elbow joint) หรือข้อต่อของขากรรไกรล่าง (temporomandibular joint)

3. ข้อต่อรูปอานม้า (saddle joint) เป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้ 2 ทิศทาง มีลักษณะเหมือนอานม้าประกบกัน ข้อต่อประเภทนี้พบในข้อต่อระหว่างกระดูกโคนนิ้วหัวแม่มือกับข้อมือ

4. ข้อต่อแบบปุ่ม (condyloid joint) มีลักษณะคล้ายข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้าแต่เคลื่อนไหวได้น้อยกว่า เช่น ข้อต่อระหว่างกระดูกฝ่ามือกับกระดูกนิ้วมือ

5. ข้อต่อเพลน (plane joint) หรือ ข้อต่อไกลดิง (gliding joint) เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกที่มีหน้าตัดเรียบ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะเลื่อนถูกันไปมา พบในข้อต่อที่กระดูกข้อมือและข้อต่อกระดูกข้อเท้า

6. ข้อต่อรูปบอลในเบ้า (ball and socket joint) ข้อต่อชนิดนี้ปลายกระดูกข้างหนึ่งมีลักษณะกลม สอดเข้าไปในปลายของกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเบ้า ซึ่งทำให้มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดเกือบทุกทิศทาง กระดูกที่มีข้อต่อชนิดนี้ คือ ข้อต่อกระดูกสะโพก ข้อต่อกระดูกหัวไหล่

PS Rehab Clinic
Relax, Comfort and Promote Well-Being

มีปัญหาอาการปวด ชา เคลื่อนไหวไม่สะดวกปรึกษาได้ที่
PS Rehab Clinic สุขุมวิท 49/14
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด
โทร 065-789-3565 line ID: @psrehab

#PSrehab #Pain #ปวดหลัง #ปวดคอ #ชา #ฝังเข็ม #กายภาพบำบัด #ทองหล่อ #Laser #PMS #Shockwave #Traction #FocusShockWave #หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด สุขุมวิท 49/14 คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด